วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ขนมไทย

ประวัติและความสำคัญของขนมไทย

                สมัยสุโขทัยขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ คือ
จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย
สมัยอยุธยา เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง
หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" "ท้าวทองกีบม้า"หรือ "มารี กีมาร์" เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ "ฟานิก (Phanick)" เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ "อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)" ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนัก ชีวิตช่วงหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ "ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย"  

 

                           ความหมายของขนมไทยในงานมงคล
 
    ขนมไทย  เป็นขนมหวานของไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  ถือเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติซึ่งอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน  ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานเท่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล  งานประเพณี  งานประเพณี  งานทางศาสนา  หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ  แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวันหลังสำรับคาวหวาน  หรือกินเป็นของว่าง  ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น  รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมืองก็ถูกดัดแปลงให้มีรูปรสลักษณะเป็นแบบไทยๆ  จนบางที่คนนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี  แต่แท้ที่จริงแล้วขนมไทยแท้ๆนั้น  จะมีส่วนประกอบเพียงสามอย่าง  คือ  แป้ง  น้ำตาล  มะพร้าว  โดยการทำขนมไทยนี้เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของคนไทยในเรื่องความอดทน  ใจเย็น  ละเอียดลออ  และช่างสังเกต ทั้งยังได้แฝงความหมายอันลึกซึ้งไว้ในชื่อของขนมไทยแต่ละอีกชนิดด้วย
        ขนมทองหยิบ  ทองหยอด  ทองพลู  ทองโปร่ง  ทองม้วน  ทองเอก  เป็นขนมมงคล  เชื่อกันว่าจะมีเงินทองใช้อย่างล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น
        ขนมเม็ดขนุน
 มีในงานมงคลต่างๆ  ให้ความหมายว่า  ทำกิจการใดก็จะมีคนคอยสนับสนุน  ค้ำจุน  ช่วยเหลือไม่มีวันตกต่ำ
        ขนมชั้น  นิยมทำในงานฉลองยศ  เพราะหมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์  คนไทยในสมัยโบราณทำขนมถึง  9  ชั้น  ถือเคล็ดกันว่าจะได้ก้าวหน้า
        ข้าวเหนียวแดง  กาละแม
  เป็นขนมที่นิยมทำกันในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทย  เนื่องต้องอาศัยหลายแรงมาช่วยกันกวนขนม  จึงถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยมิตรไมตรี  อันจะเป็นความดีงามในชีวิตภายภาคหน้าสืบต่อไป
        ขนมข้าวเหนียวแก้ว  หากมีขนมนี้ใช้ในงานมงคลใดๆชีวิตก็จะมีความเหนียวแน่น  เป็นปึกแผ่นมั่นคง
        ขนมฝอยทอง  หากใช้ในงานแต่งงาน  ถือเคล็ดกันว่า  ห้ามตัดให้สั้นต้องปล่อยให้ยืดยาวอย่างนั้น  เพราะคู่บ่าวสาวจะได้รักกันยืนยาวและครองคู่อยู่ด้วยกันตลอดไป
        ขนมจ่ามงกุฎ  นิยมทำกันในงานฉลองยศ  ฉลองตำแหน่ง  เพราะมีความหมายว่าจะมีลาภยศอันสูงส่ง  เป็นนิมิตหมายอันดีในหน้าที่การงานสืบไป
        ขนมเทียนหรือขนมนมสาว  ให้ความหมายถึงความสว่างไสว  ความรุ่งโรจน์ของชีวิต
        ขนมพอง  ขนมลา  ขนมไข่ปลา  ขนมดีซำ  เป็นขนมที่ใช้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ  ทำกันในงานเทศกาลสารทของชาวใต้  มีความหมายต่างกันไป  เช่น  ขนมพองแทนพาหนะ  ขนมลาแทนเครื่องนุ่งห่ม  ขนมไข่ปลาแทนเครื่องประดับ  ขนมดีซำใช้ต่างแหวน  กำไล  เป็นต้น
        ข้าวต้มมัด  มีในงานตักบาตรเทโว  เล่ากันว่าเกิดจากชาวเมืองไปคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้า  แล้วจะทำบุญตักบาตรด้วยข้าวต้มมัดเพราะเป้นของสะดวกและกินง่าย  ส่วนข้าวต้มลูกโยน  บ้างก็ว่าชาวบ้านที่ไปเบียดเสียดต้องการจะตักบาตรแต่เข้าไปไม่ถึง  องค์พระพุทธเจ้าจึงต้องใช้วิธีโยนข้าวต้มนี้เอา
        ขนมถ้วยฟู  ขนมปุยฝ้าย  มีความหมายว่าความรุ่งเรืองความเฟื่องฟูของชีวิต
        ขนมโพรงแสม  เป็นขนมแต่งงานที่เก่าแก่และมีมานานชนิดหนึ่ง  โบราณท่านเปรียบขนมนี้ว่า  เสมือนเสาบ้านที่คูบ่าวสาวจะอยู่กันได้ยั่งยืนตลอดไป

7.ประโยชน์ของขนมไทย

        
                   
           ใยอาหาร" หรือ "Fiber" เป็นอาหารอีกหมู่หนึ่งที่ร่างกายมีความต้องการไม่น้อยไป กว่าอาหารหลักหมู่อื่น ใยอาหารนี้แท้ที่จริงแล้วคือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ใช่แป้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ พืช ผัก และผลไม้ที่รับประทานได้ แต่ไม่ถูกย่อยโดยน้ำย่อยในระบบย่อยอาหาร เมื่อผ่านลำไส้ใหญ่บางส่วนจะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ ทำให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไฮโดรเจน น้ำ และกรดไขมันสายสั้นๆ ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ด้วยเหตุนี้ ใยอาหารจึงมีผลช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งที่อาจปะปนมากับอาหาร ซึ่งร่างกายสามารถขับถ่ายมาพร้อมกับอุจจาระ ช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเรสเตอรอลในเส้นเลือดได้และเพื่อสุขภาพที่ดีเราควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยอาหารในปริมาณ 25-30 กรัมต่อวัน ซึ่งในขนมไทยต่างมีใยอาหารประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น
    กากใยอาหารในผักและผลไม้ที่นำมาใช้ทำขนม อย่างเช่น กล้วยบวดชี บวดเผือก บวดฟักทอง ยังคงสภาพอยู่กากใยเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการขับถ่ายของร่างกายทีเดียว ในขณะที่ ขนมพันธุ์ใหม่ที่ในยุคนี้จะเป็นขนมที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายหลายขั้นตอนมาก แป้งที่ใช้ทำขนมก็จะถูกฟอกขาว มีสารเคมีสังเคราะห์มากมายเข้าไปเป็นส่วนผสมทั้งในแป้งและน้ำตาล ซึ่งจะย่อยสลายทันทีในปาก เกิดกรดทำให้ฟันผุได้ทันที และความที่อาหารมีกากใยน้อยลง โรคที่ตามมาอีก คือ อาการท้องผูก ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาของเด็กอย่างยิ่ง บางบ้านถึงกับทะเลาะกันระหว่างแม่กับพ่อเรื่องการถ่ายของลูก
เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ
- เบต้าแคโรทีน (beta-Carotene) เป็นองค์ประกอบของสารสีส้มแดง สีเหลืองในพืช ผัก ผลไม้ เป็นแหล่งของวิตามินเอ เพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ ซึ่งวิตามินเอนี้เป็นวิตามินชนิดไม่ละลายน้ำ มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การเจริญเติบโต เป็นสารต้านอนุมูลอิสระของไขมันบนผนังเซลล์ ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดี
- แคลเซียม เป็นธาตุอาหารที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน ช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อและการเต้นของหัวใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์
ขนมไทยเป็นมิตรต่อสุภาพ
                         

    ขนมไทย มีรากเหง้ามาจากสังคมเกษตรผูกพันกับธรรมชาติ วัตถุดิบที่นำมาทำเป็นขนมก็ล้วนมาจากธรรมชาติ ดังนั้นคุณสมบัติหลายประการของผลผลิตตามธรรมชาติก็จะยังคงมีอยู่มาก จากการสำรวจคุณค่าทางโภชนาการขนมไทย ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่าขนมไทยส่วนใหญ่ นอกจากจะมีคุณค่าในสารอาหารหลักๆ อย่างคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันแล้วยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายรวมอีกด้วย อาทิเช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ เรตินอล แคโรทีน เป็นต้น ซึ่งคุณค่าอาหารรวมหมู่แบบนี้จะหาไม่ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะเป็นการสกัดสารอย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุในแคปซูลเพื่อขายในราคาแพงๆ เท่านั้น และในขนมถุงสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็ยังหาทำยาได้อยากเช่นกัน
    นอกจากนี้ ด้วยความที่ขนมไทยยังไม่ได้ถูกครอบงำจากระบบอุตสาหกรรมข้ามชาติ ทำให้ขนมไทยมีความปลอดภัย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความปลอดภัยจากการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม หน้าแรก ขนมไทยเป็นมิตรต่อสุขภาพ ประโยชน์จากขนมไทยการเลือกรับประทานขนมไทย การกินแบบไทยๆ ขนมไทยในเทศกาลงานบุญ ขนมไทยในงานมงคล ขนมไทยแด่ผู้ยากไร้ ขนมไทยที่ใช้เป็นของขวัญ หรือ จีเอ็มโอ เพราะจากการตรวจสอบของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกรีนพีช พบว่า มีขนมกรุบกรอบหรือขนมถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดบางยี่ห้อมีการใช้วัตถุดิบที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ แม้จะยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่มีบทสรุปมาจนถึงทุกวันนี้ว่า คนที่กินอาหารจีเอ็มโอหรือมีส่วนผสมของอาหารจีเอ็มโอเข้าไปจะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายหรือไม่อย่างไร แต่เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภคก็ไม่ควรที่จะเสี่ยง
                                          รูปภาพขนมไทย